ลำดับฟาเรย์
ลำดับฟาเรย์อันดับที่ $n$ หรือ $F_n$ คือลำดับของเศษส่วนในช่วง 0 กับ 1 โดยเรียงค่าจากน้อยไปมากและจะอยู่ในรูปเศษส่วนอย่างต่ำ $\frac{a}{b}$ เมื่อ $0 \leqslant a \leqslant b \leqslant n$
ตัวอย่างของลำดับฟาเรย์ เช่น
\[
\begin{array}{lll}
F_1 & = & \left\{\frac{0}{1}, \frac{1}{1}\right\} \\
F_2 & = & \left\{\frac{0}{1}, \frac{1}{2}, \frac{1}{1}\right\} \\
F_3 & = & \left\{\frac{0}{1}, \frac{1}{3}, \frac{1}{2}, \frac{2}{3}, \frac{1}{1}\right\} \\
F_4 & = & \left\{\frac{0}{1}, \frac{1}{4}, \frac{1}{3}, \frac{1}{2}, \frac{2}{3}, \frac{3}{4}, \frac{1}{1}\right\}
\end{array}
\]
ความยาวของลำดับฟาเรย์ $|F_n|$ คือจำนวนเศษส่วนใน $F_n$
จากตัวอย่างที่ให้มาเราจะได้
$|F_1|=2$, $|F_2|=3$, $|F_3|=5$, และ $|F_4|=7$
โดยทั่วไปเราคำนวณความยาวของลำดับฟาเรย์จากสูตร \[ |F_n| = 1 + \sum_{k=1}^n \phi(k) \] โดย $\phi$ คือฟังก์ชัน phi ของออยเลอร์และคำนวณจาก ฟังก์ชัน phi
แอปพลิเคชันนี้จะใช้คำนวณทั้งลำดับฟาเรย์ $F_n$ และจำนวนเศษส่วนใน $F_n$ ถ้า $n$ ไม่เกิน 50 แต่ถ้าเกิน 50 จะคำนวณหาเฉพาะจำนวนเศษส่วนใน $F_n$ เท่านั้น